Gel2life
knowledge

ระวัง ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน มักพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ปัญหาด้านสายตา ไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต ขาชา แผลเน่าโดยเฉพาะบริเวณเท้า ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากเท่าไร ช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนเรื้อรังลงได้มากเท่านั้น

%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99

สำคัญคือ โรคแทรกซ้อนเรื้อรังนี้อาจกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจพบความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเกิดขึ้น และได้รับการรักษาแต่เริ่มแรก

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้เป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง

  1. โรคตา จอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจก จากเบาหวาน

เมื่อระดับน้ำตาลในร่างกายมากขึ้น ร่างกายจะขับน้ำตาลออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงที่บริเวณเลนส์ตา จึงส่งผลให้ผู้ป่วยอาจจะเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตาหลายชนิด เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทตาเสื่อม และอาจจะส่งผลให้จอรับภาพเกิดการฉีกขาดหรือแตก ส่งผลให้อาจจะเกิดตาบอดได้

Optometrist giving eye exam to senior patient

ถ้าผู้เป็นเบาหวานเริ่มมีอาการปวดตา เห็นภาพซ้อน ตาพล่ามัว มองเห็นแสงไฟ หรือใยแมงมุมอยู่ในอากาศ ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ แต่ถ้าเป็นไปได้เมื่อทราบแล้วว่าเรากำลังเป็นเบาหวานอยู่ ต้องรับการตรวจดวงตาเป็นประจำทุกปีเพื่อช่วยปกป้องดวงตาจากอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

  1. โรคไตเสื่อม ไตวาย จากเบาหวาน

ไต เป็นอวัยวะทำหน้าที่กรองสารต่างๆ ที่อยู่ในกระแสเลือด มีหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมากมายบริเวณไต เมื่อผนังหลอดเลือดถูกทำลายโดยน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นเวลานาน การทำหน้าที่ในการกรองของไตจะเริ่มเสื่อมลง ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ

images-4

ผู้เป็นเบาหวาน มักเกิดปัญหาไตเสื่อม แต่ความรุนแรงและระยะการเกิดจะมากหรือน้อยขึ้นกับการควบคุมน้ำตาลในเลือด

วิธีการป้องกันการเป็นโรคไตก็คือ เมื่อพบว่าเป็นโรคเบาหวานควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นปกติ รวมทั้งผู้สูบบุหรี่ควรเลิกสูบบุหรี่ หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไต ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานได้

  1. โรคความดันโลหิตสูง

พบมากในจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน และเมื่อเริ่มเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตา และโรคทางสมอง

%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99

ผู้เป็นโรคเบาหวานจึงควรควบคุมระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ โดยการพบแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับความดันของเลือด ถ้าผู้ป่วยเป็นคนอ้วนก็ควรควบคุมน้ำหนัก หรือทำการลดน้ำหนักก็จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

นอกจากนี้ คุณควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติได้เช่นเดียวกัน

  1. โรคผิวหนัง

เกิดจากร่างกายขาดน้ำทำให้ผิวหนังแห้งและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อรา ทำให้เกิดอาการคันและเกิดเป็นแผลตามผิวหนัง ทั้งนี้ แผลที่เกิดขึ้น มักจะหายยากและเกิดการอักเสบ

%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%87

ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรหมั่นดูแลรักษาผิวให้สะอาดอยู่เสมอ ให้ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิว คอยสำรวจร่างกายอยู่เสมอว่ามีตุ่ม หรือแผลขึ้นที่บริเวณใดบ้างถ้าเกิดมีฝีหรือแผลเกิดขึ้นควรรีบรักษาตั้งแต่เริ่มต้น

  1. โรคหลอดเลือดหัวใจ

เป็นโรคแทรกซ้อนที่คุกคามต่อชีวิตได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก จากหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด

%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%83%e0%b8%99

ปัจจัยที่ช่วยให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ควบคุมเบาหวานไม่ดี ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง ไม่ออกกำลังกาย อ้วน สูบบุหรี่ ประวัติโรคหัวใจในครอบครัว และเป็นผู้ที่เครียดเป็นประจำ

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยดังข้างต้น และตรวจร่างกายเป็นประจำจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก

  1. โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณสมองตีบตัน ทำให้เกิดการพิการหรืออาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ โอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบตันจะสูงมาก ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ทำให้อวัยวะที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่อ่อนแรงลงไป เกิดอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต ได้

%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%9a

  1. ปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน

ลักษณะของโรคนี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายถึ’ชีวิต แต่ทำให้รู้สึกรำคาญและทุกข์ทรมาน เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้ รวมถึง การมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทเองด้วย จึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง การรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ลดลง โดยเฉพาะบริเวณปลายมือปลายเท้าจะเกิดอาการชา เมื่อกระทบถูกความร้อนหรือเจ็บปวดจะไม่ค่อยรู้สึก ซึ่งเป็นอันตรายกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้ง่ายโดยไม่รู้สึกตัว เมื่อเป็นมากอาจทำให้กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง

%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%b2

นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณระบบทางเดินอาหารด้วย จึงทำให้เกิดอาการท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ

สำหรับผู้ชายที่เป็นเบาหวาน มักพบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย

การรักษาอาการปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ทำได้เพียงบำบัดตามอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้คืนกลับสู่สภาพเดิมได้ แต่การควบคุมน้ำตาลในเลือดจะช่วยลดความรุนแรงได้

  1. โรคในช่องปาก

โรคในช่องปากมักจะเกิดจากร่างกายขาดน้ำทำให้ผลิตน้ำลายได้น้อย ปากแห้ง มีผลทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องปาก มีอาการเหงือกอักเสบ เกิดหินปูน ฟันผุ

%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99

วิธีการป้องกันคือ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้มากขึ้นและควรรักษาความสะอาดบริเวณช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจรักษาฟันและช่องปาก

โรคที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นเบาหวาน ส่งผลต่อการทำงานและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และบางครั้งโรคแทรกซ้อนนั้นอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพที่ดี ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการรักษาโรคแทรกซ้อน

Open