Gel2life
knowledge

รู้จักเบาหวาน ที่ไม่หวาน

รู้จักเบาหวาน ที่ไม่หวาน

โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ปกติระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดขณะอดอาหารจะอยู่ในช่วง 70-99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าระดับน้ำตาลกลูโคสอดในเลือดสูงผิดปกติ จนไตไม่สามารถดูดกลับได้ (180 มิลลิกรัมต่เดซิลิตร) น้ำตาลจะออกมาในปัสสาวะได้

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน
– พันธุกรรม

– อายุมากขึ้น
– น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
– โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
– โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ต่อมใต้สมอง หรือ ต่อมหมวกไต  เป็นต้น

อาการของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน มีมดขึ้น
– คอแห้ว กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยและมาก
– หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย
– เป็นแผลหรือฝีง่าย แต่หายยาก

– คันตามผิวหนังและบริเวณอวัยวะสืบพันธ์
– เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ชาตามปลายมือปลายเท้า ความรู้สึกทางเพศลดลง
– ตามัว ตาพร่า ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ

– คลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม ในแม่ที่เป็นเบาหวาน

%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%99

 

สาเหตุ.. ของโรคเบาหวาน

ในคนไทยมีโอกาสพบคนเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ช่วงอายุ 13 ปีขึ้นไป โดยประมาณทั้งสิ้นถึงหนึ่งล้านเจ็ดแสนคน นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้นมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ประชากรอายุระหว่าง 20-44 ปี จะพบประมาณร้อยละ 2-3 และอายุ 45-49 ปีขึ้นไป อาจพบสูงถึงร้อยละ 10-12 จากสาเหตุดังนี้

– นัำหนักเกิน ความอ้วน และขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายที่เพียงพอ การตั้งครรภ์บ่อย
– กรรมพันธุ์ มักพบโรคนี้ในผู้ที่บิดา มารดา เป็นเบาหวาน ลูกมีโอกาสเป็นเบาหวาน 6-10 เท่าของคนผู้ที่พ่อแม่ไม่เป็นเบาหวาน
– ความเครียดเรื้อรังทำให้อินซูลินนำพาน้ำตาลเข้าเนื้อเยื่อได้ไม่เต็มที่
– จากเชื้อโรคหรือยาบางชนิดเกิดร่วมกับโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไต เป็นต้น
อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน
– ภาวะกรดคั่งในเลือด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
– ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดคีโตนคั่ง
– ตาพร่ามัว ต้อหิน ต้อกระจก เบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือตาบอดได้
– ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
– เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

312-71262081221998484

 

โรคเบาหวานป้องกันได้ โดยการดูแลเอาใจใส่ ดังนี้
– ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน
– กินอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วน และหลากหลาย
– กินอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่างๆ
– ลดอาหารจำพวกข้าว แป้ง น้ำตาล ของหวาน ไขมันหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป
– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
– ออกกำลังกายอย่างถูวิธี สม่ำเสมอ เหมาะสมกับเพศและวัย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วันๆ ละ 30 นาทีติดต่อกัน
– ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส หลีกเลี่ยงความเครียด วิตกกังวล
– ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

az1

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
– กินอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณ และสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายและกิจกรรมประจำวัน
– หลีกเลี่ยงอาหารประเภทของหวาน น้ำตาล ผลไม้เชื่อม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
– จำกัดการกินอาหารจำพวกแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน
– หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ เนื้อและหนังสัตว์ติดมัน
– ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย

Open